สาระสำคัญให้ทำแบบทดสอบ 30 ข้อก่อนเรียนเสียก่อน และตรวจคำตอบว่าถูกกี่ข้อ และทำการทดสอบอีกครั้งเมื่อศึกษาเนื้อเรื่องจบ
ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้จารึกหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา มีหลักเกณฑ์การอ่านที่ตายตัว ไม่ซับซ้อน การฝึกอ่านภาษาบาลีบ่อย ๆ จะทำให้เกิดความชำนาญ และสามารถอ่านคำสุภาษิต และคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาบาลี พุทธศาสนสุภาษิต และคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
จุดประสงค์นำทาง
1. บอกหลักเกณฑ์การอ่านภาษาบาลีและอ่านภาษาบาลีได้อย่างถูกต้อง
2. อธิบายความหมายของพุทธศาสนสุภาษิตที่กำหนดให้ และนำข้อคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. อธิบายความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ และนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว (ข้อละ 1 คะแนน)
จุดประสงค์นำทางข้อที่ 1 บอกหลักเกณฑ์การอ่านภาษาบาลีและอ่านภาษาบาลีได้ถูกต้อง
1. เครื่องหมายพินทุ ( . ) อยู่ใต้พยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด ข้อใดเขียนตามหลักการนี้
ก. โหนตุ ข. พฺรหฺม
ค. พยาโรสนา ง. ถูกทุกข้อ
2. อปิคพฺดภ อ่านว่าอย่างไร
ก. อะ – ปะ – คับ – โพ ข. อับ – ปะ – คับ – โภ
ค. อับ – ปะ – คะ – พะ – โพ ง. อับ – ปะ – คับ – พะ – โพ
3. เครื่องหมายนิคหิต ( ํ ) อยู่เหนือพยัญชนะให้ออกเสียงอย่างไร
ก. เหมือนมีสระ ข. เหมือนมี ง สะกด
ค. เหมือนมี ม สะกด ง. เหมือนมี ฌ สะกด
4. อุปวเทยฺยุํ อ่านว่าอย่างไร
ก. อุ – ปะ – วะ – เทย – ยุง ข. อุป – ปะ – วะ – เทย – ยุง
ค. อุ – ปะ – วะ เท – ยะ – ยุง ง. อุป – ปะ – วะ – เท – ยะ – ยุง
5. โยคา เว ชายะเต ภูริ เขียนแบบภาษาบาลีว่าอย่างไร
ก. โยคฺ เว ชายฺเต ภูริ ข. โยคฺ เว ชายเต ภูริ
ค. โยคา เว ชายฺเต ภูริ ง. โยคา เว ชายเต ภูริ
6. เครื่องหมายพินทุในข้อใดใช้ ต่างจาก พวก
ก. สมฺภเวสี ข. อนนุคิทฺโท
ค. อภิสเมจฺจ ง. ทุกฺขมิจฺเฉยฺย
7. ข้อใดอ่าน ไม่ถูกต้อง
ก. ตสฺมา อ่านว่า ตัด – สมา ข. คเหตฺวา อ่านว่า คะ – เหต – วา
ค. โลกสฺมึ อ่านว่า โล – กัด – สมิง ง. พฺยาโรสนา อ่านว่า พยา – โร – สะ – นา
8. กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ เขียนแบบบาลีอย่างไร
ก. กรณีนมตฺถกุสฺเลน ข. กรณียมตฺถกุสเลน
ค. กรณียมตถกุสเลน ง. กรณียมตถกุสเลน
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 9 – 10
1. พยัญชนะและสระทุกตัวอ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฏ
2. คำที่มีสระผสมกับพยัญชนะแต่ไม่มีตัวสะกด ให้อ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฏ
3. พยัญชนะที่ไม่มีรูปสระและสัญลักษณ์อื่นใดผสมอยู่ให้อ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฏ
9. คำบาลีข้อใดใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าว
ก. อรุกถูลา ข. สุขิตตฺตา
ค. สลฺลหุกวุตฺติ ง. เอกปุตฺตมนุรกฺเข
10. คำว่า สุวโจ ใช้หลักเกณฑ์ข้อใด
ก. ข้อ 1 และ 2 ข. ข้อ 2 และ 3
ค. ข้อ 1 และ 3 ง. ข้อ 1, 2 และ 3
จุดประสงค์นำทางข้อ 2 อธิบายความหมายของพุทธศาสนสุภาษิตที่กำหนดให้ และนำข้อคิดที่ได้
ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
11. ข้อความในข้อใด ไม่จัด เป็นพุทธศาสนาสุภาษิต
ก. ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ ข. ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ค. อยู่ด้วยปัญญาต่างกับอยู่ด้วยการยึดมั่นถือมั่น ง. ปราชญ์กล่าวว่ามีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาประเสริฐสุด
12. สำนวนว่า ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด มีความหมายสัมพันธ์แบบ ตรงข้าม กับพระพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
ก. สูสฺสูสํ ลภเต ปญญํ ข. ปญญาว ธเนน เวยฺโย
ค. ปญฺญา โลกสฺมึ ปชฺโชโต ง. ปญฺญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฏฐํ
13. คำกล่าวใดสัมพันธ์กับพระพุทธสาสนสุภาษิตบทว่า ปญฺยษว ธเนน เสยฺโย
ก. มีวิชาเหมือมีทรัพย์อยู่นับแสน
ข. มีเงินนับว่าน้อง มีทองนับว่าพี่ ยากจนเงินทอง พี่น้องไม่มี
ค. รู้อะไรให้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
ง. มรดกทรัพย์สินกินหมดได้ มรดกปัญญาไซร้กินเท่าไหร่ก็ไม่หมด
14. คนที่นำข้อคิดที่ได้จากพระพุทธศาสนสุภาษิตบทว่า ปญฺญาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฐํ เป็น
แนวทางปฏิบัติ จะมีคุณลักษณะตามข้อใด
ก. เป็นคนย้ำคิดย้ำทำ ข. เป็นคนละเอียดรอบคอบ
ค. เป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง ง. ถูกทุกข้อ
15. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตบทว่า สุสฺสูสํ ลภเต ปญฺญํ
ก. ฟังหูไว้หู ข. มีจิตจดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง
ค. คิดพิจารณาตามอย่างมีเหตุผล ง. ถูกทุกข้อ
16. ความรู้ดูยิ่งล้ำ สินทรัพย์ คิดค่าควรเมืองนับ ยิ่งไซร้ เพราะเหตุจักอยู่กับ การอาด – มานา
โจรจักเบียนบ่ได้ เร่งรู้เรียนเอา บทประพันธ์นี้กล่าวถึงพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
ก. ปัญญาคือแสงสว่างในโลก ข. ปัญญาแลประเสริฐกว่าทรัพย์
ค. แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ง. การเป็นอยู่ด้วยปัญญาด้วยประเสริฐสุด
17. นักเรียนประพฤติตนตามสำนวนหรือคำพังเพยในข้อใด ได้ชื่อว่า เป็นอยู่ด้วยปัญญา
ก. น้ำขึ้นให้รีบตัก ข. จับแพะชนแกะ
ค. ขายผ้าเอาหน้ารอด ง. บนข้าวผี ตีข้าวพระ
18. อริยทรัพย์ หมายถึงข้อใด
ก. ปัญญา ข. เงินทอง
ค. อสังหาริมทรัพย์ ง. ข้อ ข และ ค
19. การฟังที่จะก่อให้เกิดปัญญาจะต้องมีคุณธรรมข้อใดเป็นพื้นฐาน
ก. ขันติ ข. สมาธิ
ค. วิริยะ ง. ศรัทธา
20. นักปราชญ์ตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึงใคร
ก. คนเก่งและคนดี ข. คนที่มีความรู้มาก
ค. คนที่มีความประพฤติดีงาม ง. คนที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
จุดประสงค์นำทางข้อ 3 อธิบายความหมายของคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้ และ
นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
21. คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาบางคำเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานาน ๆ ก็มีความหมายคลาดเคลื่อนไปจากเดิมตามหลักพระพุทธศาสนา คำศัพท์ในข้อใดสอดคล้องกับข้อความนี้
ก. ตัณหา ข. สันโดษ
ค. สังสารวัฏฏ์ ง. ทุกขเวทนา
22. คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาข้อใดเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยยังคงมีความหมายเหมือนเดิม
ก. โมโห ข. สังเวช
ค. กรรม ง. เจตนา
23. เหมือนทัพพีไม่เคยรู้จักรสชาติของแกง ข้อความเปรียบเทียบนี้ต้องการแสดงความหมายของศัพท์ใด
ก. มโนภาพข. เทวธรรม
ค. โมฆบุรุษง. เดียรถีย์
24. หลวงพ่อรูปนี้มีบารมีแก่กล้า สามารถล่วงรู้ความคิดของลูกศิษย์ได้ คำว่า บารมีในข้อความนี้หมายถึงข้อใด
ก. คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ ข. คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด
ค. บุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้ในอดีตชาติ ง. ถูกทุกข้อ
25. คำว่า บารมี ในข้อใด มีความหมาย ต่างจากพวก
ก. ชมพระบารมี ข. พ่ายแพ้แก่บารมี
ค. พระบารมีปกเกล้าฯ ง. มีปัญญาบารมีแก่กล้า
26. วิญญาณที่นำมาใช้ในภาษาไทยหมายถึงข้อใด
ก. จิต ข. ภูตผีปีศาจ
ค. ความรู้แจ้งอารมณ์ ง. การเห็น การได้ยิน
27. คำว่า วิญญาณ ในข้อใดมีความหมายคงเดิมตามหลักพระพุทธศาสนา
ก. เขามีวิญญาณนักสู้เต็มตัว ข. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเมื่อธรรมารมณ์เกิดกับใจ
ค. เมื่อคนเราตายวิญญาณจะล่องลอยออกจากร่าง ง. ถูกทุกข้อ
28. คุณสะอิ้งเป็นคุณหญิงเฉิดไฉไลมีเกียรติยศ ชื่อเสียงในสังคม อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง จึงวิ่งเต้นจนได้เป็นคุณหญิงสมใจอยาก ครั้นได้เป็นคุณหญิงแล้ว ต้องบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ เช่น เดินทางไปแจกผ้าห่มและยารักษาโรคแก่คนยากจนยังถิ่นทุรกันดารแทบไม่มีเวลาพักผ่อน บางครั้งก็ถูกหนังสือพิมพ์โจมตีว่าทำบุญเอาหน้า รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากอยู่ในฐานะเช่นนั้นอีกต่อไป พฤติกรรมของคุณหญิงสะอิ้ง จัดเข้าในตัณหาข้อใด
ก. กามตัณหา และภวตัณหา ข. ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ค. กามตัณหา และวิภวตัณหา ง. กามตัณหา ภวตัณหา และวิภาวตัณหา
29. กรรมของฉันแท้ คำว่า กรรม ในข้อความนี้ หมายถึงอะไร
ก. บาป ข. เคราะห์
ค. ความตาย ง. การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน
30. มโนรถ หมายถึงข้อใด
ก. ความจริงใจ ข. ความใฝ่ฝัน
ค. ความอยากมี ง. การพิจารณาโดยแยบคาย
5.1 บทนำ
แต่เดิมภาษาบาลีเรียกว่า ภาษามาคธีหรือภาษามคธ ซึ่งเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าและเหล่าพระสาวกใช้ในการประกาศพระศาสนา และแม้พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว แต่พระสงฆ์ก็ยังคงใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาในการประกาศพระศาสนา ต่อมาเมื่อมีการสังคยานาจัดหมวดหมู่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพระไตรปิฏก พระเถระยุคต่อมาก็ได้ใช้ภาษาบาลีเป็นภาษาที่จารึกหลักคำสอนหรือพระไตรปิฏก โดยในคราวสังคยานาครั้งที่ 5 ณ ลังกาทวีป (ประเทศศรีลังกาปัจจุบัน) ได้มีการจารึกพระไตรปิฏกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกด้วยอักษรสิงหล และเมื่อพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทได้เผยแผ่ไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น พม่า ไทย เขมร เป็นต้น อักษรสิงหลซึ่งใช้จารึกพระไตรปิฏกก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นอักษรของประเทศนั้น ๆ เพื่อสะดวกในการศึกษา เช่น ประเทศพม่าก็เปลี่ยนเป็นอักษรพม่า ประเทศเขมรก็เปลี่ยนเป็นอักษรขอม สำหรับประเทศไทยเดิมใช้พระไตรปิฏกอักษรขอม ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2431 ในรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ก็ได้เปลี่ยนพระไตรปิฏกอักษรขอมเป็นอักษรไทยเป็นครั้งแรก
แม้พระไตรปิฏกจะถุกจารึกด้วยอักษรขอมก็ตาม แต่ภาษาที่ใช้จารึกพระไตรปิฏกก็ยังคงเรียกว่าภาษาบาลีอยู่ดี ดังนั้น พุทธศาสนิกชนจึงจำเป็นต้องศึกษาภาษาบาลีให้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อจะสามารถศึกษาคัมภีร์พระไตรปิฏกอันจะเป็นประโยชน?ต่อการสืบทอดและจรรโลงรักษาสถาบันพระพุทธศาสนาให้ดำรงมั่นสืบต่อไป
5.2 การอ่านภาษาบาลี
พระไตรปิฏกในแระเทศต่าง ๆ ที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท แม้เราจะจารึกด้วยอักษรของประเทศนั้น ๆ แต่โดยเนื้อหาและการอ่านออกเสียงแล้วส่วนใหญ่จะมีความคล้ายคลึงกัน จะต่างกันบ้างก็เพียงบางศัพท์เท่านั้น
สำหรับประเทศไทย กล่าวเฉพาะเรื่องการอ่านออกเสียง ภาษาบาลีจะอ่านออกเสียง 2 แบบคือ
1. การอ่านออกเสียงแบบไทย เป็นวิธีการอ่านออกเสียงที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป โดยอ่านออกเสียงพยัญชนะและสระทุกตัวเหมือนเสียงพยัญชนะและสระในภาษาไทย เช่น พุทโธ อ่านว่า พุด – โท
ธมฺโม อ่านว่า ทำ – โม สงฺโฆ อ่านว่า สัง – โค ฯลฯ
2. การอ่านออกเสียงแบบบาลี เป็นวิธีการอ่านออกเสียงที่ไม่ค่อยนิยมใช้กันมากนัก จะใช้เฉพาะในพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตบางส่วนเท่านั้น โดยอ่านออกเสียงพยัญชนะและสระเหมือนแบบไทย ยกเว้นพยัญชนะบางตัว ได้แก่ ฑ ท ธ พ ๓ ให้อ่านออกเสียงดังนี้
2.1 ตัว ฑ และ ท ให้อ่านออกเสียงเป็น ด แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์ต่ำ เช่น ปณฺฑิโต อ่านว่า ปัน – ดิ – โต ทุกฺโข อ่านว่า ดุ๊ก – โข
2.2 ตัว ธ ให้อ่านออกเสียงเป็น ด ผสมกับ ห ในลำคอ (DH ในอักษรโรมัน เวลาอ่านให้ออกเสียงก้อง) เช่น ธนํ อ่านว่า ต๊ะ – นัง
2.3 ตัว พ ให้อ่านออกเสียง บ แต่ออกเสียงเป็นวรรณยุกต์ต่ำ พาโล อ่านว่า บา – โล
พหุ อ่านว่า บ๊ะ – หุ
2.4 ตัว ภ ให้อ่านออกเสียงเป็น บ ในลำคอ (BH ในอักษรโรมัน) เช่น ภนฺเต อ่านว่า บัน – เต
1. หลักเกณฑ์การอ่านภาษาบาลี
ภาษาบาลีที่ใช้เขียนด้วยอักษรไทยนั้นมีวิธีเขียน 2 แบบ คือ สะกดแบบไทย เช่น สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ และ สะกดแบบบาลี เช่น สพฺเพ สตฺตา อเวรา โหนตุ การอ่านภาษาบาลีที่เขียนสะกดแบบบาลีมีหลักเกณฑ์กว้าง ๆ ดังนี้
1) คำที่มีสระผสมกับพยัญชนะแต่ไม่มีตัวสะกด ให้อ่านออกเสียงตามรูปที่ปรากฏ เช่น
สุขิโน อ่านว่า สุ – ขิ – โน
เขมิโน อ่านว่า เข – มิ – โน
ทีฆา อ่านว่า ที – คา
2) สระ อะ ในภาษาบาลีเมื่อผสมกับพยัญชนะจะไม่มีรูปปรากฏอยู่ ฉะนั้นพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระและสัญลักษณ์อื่นใดผสมอยู่ ให้อ่านออกเสียงเป็น อะ เช่น
อนวเสลา อ่านว่า อะ – นะ – วะ – เส – ลา
สมาจเร อ่านว่า สะ – มา – จะ – เร
วจสา อ่านว่า วะ – จะ – สา
3) เครื่องหมายพินทุ ( . ) อยู่ใต้พยัญชนะตัวใด พยัญชนะตัวนั้นเป็นตัวสะกด (ใช้ในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามีสระอื่นประกอบอยู่ด้วย) เช่น
อภิสเมจฺจ อ่านว่า อะ – พิ – สะ – เมด – จะ
โหนฺตุ อ่านว่า โหน – ติ
กิญฺจิ อ่านว่า กิน – จิ
หมายเหตุ เนื่องจาก สระ อะ ไม่มีรูปปรากฏให้เห้น เมื่อมีพินทุแสดงที่ตัวสะกด จึงออกเสียงเสมือนหนึ่งเปลี่ยนรูปสระ อะ เป็น ไม้หันอากาศ เช่น
อปฺปคพฺโภ อ่านว่า อับ – ปะ – คับ – โพ
สตฺตา อ่านว่า สัต – ตา
สมฺปนฺโน อ่านว่า สัม – ปัน – โน
ยกเว้น ถ้าพินทุอยู่ใต้พยัญชนะต้นตัวหน้า ถือว่าเป็นอักษรควบ อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวที่ผสมอยู่กึ่งมาตรา (ครึ่งเสียง) เช่น
คเหตฺวา อ่านว่า คะ – เหต – ตวา
สนฺตินฺทฺริโย อ่านว่า สัน – ติน – ทริ – โย
พฺรหฺม อ่านว่า พรัม – มะ
พฺยาโรสนา อ่านว่า พยา – โร – สะ – นา
4) เครื่องหมายนิคหิต ( ° ) อยู่เหนือพยัญชนะที่มีสระอื่นผสมอยู่ด้วย อ่านออกเสียงมี ง สะกด
อุปวเทยฺยุํ อ่านว่า อุ – ปะ – วะ – เทย – ยุง
โลกสุมิํ อ่านว่า โล – กัด – สมิง (ออกเสียง สะ เพียงครึ่งเสียง)
สติํ อ่านว่า สะ – ติง
หมายเหตุ เนื่องจากสระ อะ ไม่มีรูปปรากฏ ดังนั้น เมื่อใช้นิคหิตบนตัวพยัญชนะที่ไม่มีรูปสระ จึงออกเสียงเสมือนเปลี่ยนรูป อะ เป็น ไม้หันอากาศ และมี ง สะกด เช่น
ปทํ อ่านว่า ปะ – ทัง (ทํ = ทะ + ง = ทัง)
สนฺตํ อ่านว่า สัน – ตัง (ตํ = ตะ + ง = ตัง)
นิยํ อ่านว่า นิ – ยัง (ย = ยะ + ง = ยัง)
2. ฝึกอ่านภาษาบาลี
กรณียเมตตสูตร (บทสวดแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์)
เขียนสะกดแบบบาลี
กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺตํ สนฺตํ ปทํ อภิสเมจฺจ
สกฺโก อุชุ จ สุหุชู จ สุวโจ จสฺส มุทุ อนติมานี
สนฺตุสฺสโก จ นิปโก จ อปฺปกิจฺโจ จ สลฺลหุกวุตฺติ
สนฺตินฺทฺริโย จ นิบโก จ อปฺปคพโภ กุเลสุ อนนุคิทฺโธ
น จ ขูทฺทํ สมาจเร กิญฺจิ เยน วิญฺญู ปเร อุปวเทยฺยุํ
สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
เย เกจิ ปาณภูติตฺถิ ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา
ทีฆา วา เย มหนฺตา วา มชฺฌิมา รสฺสกา อณุกถูลา
ทิฏฐา วา เย จ อทิฏฐา เย จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร
ภูตา วา สมฺภเวสี วา สพฺเพ สตฺตา ภวนฺตุ สุขิตตฺตา
น ปโร ปรั นิกุพฺเพถ นาติมญฺเญถ กตฺถจิ นํ กิญจิ
พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺญา นาญฺญมญฺญสฺส ทุกฺขทิจฺเฉยฺย
มาตา ยถา นิยํ ปุตฺตํ อายุสา เอกปุตฺตมนุรกฺเข
เอวมฺปิ สพฺพภูเตสุ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสมิํ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
อุทฺธํ อโธ จ ติริยญฺจ อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ
ติฏฐญฺจรํ นิสินฺโน วา สยาโน วา ยาวตสฺส วิคตมิทฺโธ
เอตํ สติ อธิฎเฐยฺย พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธมาหุ
ทิฏฐิญฺจ อนุปคมฺม สีลวา ทสฺสเมน สมฺปนฺโน
กาเมสุ วิเนยฺย เคธํ น หิ ชาตุ คพฺภเสยฺยํ ปุนเรตีติ.
เขียนสะกดแบบไทย
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันต อะมิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวันปิ สัมพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัมมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญ จะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ.
คำแปล
กิจซึ่งภิกษุผู้ฉลาดในประโยชน์ ใคร่จะบรรลุนิพพาน (บทอันสงบ) พึงกระทำก็คือ ภิกษุนั้นถึงเป็นผู้อาจหาญ เป็นคนตรง เป็นคนซื่อ เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อ่อนโยน เป็นผู้ไม่เย่อหยิ่ง เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย เป็นผู้ประพฤติเบา เป็นผู้มีอินทรีย์อันสงบ เป็นผู้มีปัญญารักษาตน เป็นผู้ไม่คะนอง และเป็นผู้ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
ภิกษุนั้นไม่พึงประพฤติผิดอะไร ๆ อันเป็นเหตุให้ผู้รู้อื่น ๆ ติเตียนได้ พึงเจริญเมตตาว่า ขอให้สัตว์ทั้งปวงจงมีสุขกาย สุขใจ มีความเกษม สัตว์มีชีวิตทั้งหลายบรรดามี ประเภทเคลื่อนที่ได้ ประกอบอยู่กับที่มีลำตัวยาว ปานกลางหรือสั้น มีตัวใหญ่ ปานกลางหรือเล็ก มีตัวละเอียด (มองไม่เห็น) หรือมีตัวหยาบ (มองเห็น) เคยเห็นหรือไม่เคยเห็น อยู่ไกลหรือใกล้ เป็นผู้เกิดแล้วหรือกำลังแสวงหาที่เกิด ขอให้สัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงมีความสุขกายสุขใจเถิด
บุคคลไม่พึงข่มเหงกัน ไม่พึงกดขี่กันว่าที่ไหน ไม่พึงก่อทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความโกรธและเพราะความแค้น มารดาถนอมบุตรคนเดียว ผู้เกิดจากตนด้วยยอมสละชีวิตให้ ฉันใด บุคคลพึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง ฉันนั้น
บุคคลพึงเจริญเมตตาจิต ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ไปในสัตว์โลกทั้งสิ้น ทั้งในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวา ผู้เจริญเมจจาอย่างนี้ จะยืน เดิน นั่ง นอน ก็ปราศจากความง่วงตั้งสติไว้ได้ บัณฑิตทั้งหลายเรียกการเจริญเมตตาว่าเป็นพรหมวิหารธรรมในศาสนานี้
บุคคลผู้นั้นละความเห็นผิดได้ เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยความเห็นชอบ กำจัดความยินดีในกามทั้งหลายได้ ย่อมไม่นอนในครรภ์ คือ ไม่เกิดเป็นมนุษย์อีกอย่างแน่นอน
5.3 พุทธศาสนสุภาษิต
พุทธศาสนสุภาษิต หมายถึง คำสุภาษิตทางพระพุทธศาสนา มีลักษณะเป็นข้อความสั้น ๆ กระชับ แต่มีความหมายลึกซึ้งและแฝงด้วยคติสอนใจ มีลักษณะคล้ายกับสุภาษิตและคำพังเพยในภาษาไทย พุทธศาสนสุภาษิตมีแหล่งที่มา 4 แหล่ง คือ
1. พระดำรัสของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ตรัสไว้ในสถานที่และโอกาสต่าง ๆ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธภาษิต
2. คำกล่าวของพระสาวกหรือสาวิกาในสมัยพุทธกาล เช่น พระสารีบุตร พระธัมทินนาเถรี เป็นต้น เรียกว่า เถรภาษิต หรือ เถรีภาษิต
3. คำกล่าวของนักบวช ฤาษี หรือพระโพธิสัตว์ในกำเนิดต่าง ๆ ที่ปรากฏในชาดกหรืออรรถกถามีชื่อเรียกต่างกันตามผู้กล่าว เช่น เทวตาภาษิต โพธิสัตว์ภาษิต เป็นต้น
4. คำประพันธ์ของพระเถระของไทยในปัจจุบัน เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นต้น
คำสุภาศิตทั้ง 4 แหล่งนี้ รวมเรียกว่า พุทธศาสนสุภาษิต พุทธศาสนสุภาษิตในพระพุทธศาสนามีอยู่เป็นจำนวนมาก ในชั้นนี้กำหนดให้ศึกษาพุทธศาสนสุภาษิตเกี่ยวกับปัญญา โดยให้เลือกศึกษาเพียง 1 เรื่อง จากศาสนสุภาษิตต่อไปนี้
1. ปญฺญาชีวึ ชีวิตมาหุ เสฏฺฐํ นักปราชญ์กล่าวว่าชีวิตของผู้อยู่ด้วยปัญญาประเสริฐสุด 1.1 ความหมาย
1) นักปราชญ์ ตามหลักพระพุทธศาสนา คือ คนเก่งและคนดี หมายถึง ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ และความประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นคนที่รู้จักรับผิดชอบชั่วดี และดำเนินชีวิตถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
2) การเป็นอยู่ด้วยปัญญา คือ การดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ด้วยความไม่ประมาท ด้วยสติสัมปชัญญะ โดยรู้สึกตัวอยู่เสมอว่า กำลังทำ พูด หรือคิดสิ่งใด เพื่อจุดมุ่งหมายอะไร ในขณะเดียวกันก็ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อนที่จะทำหรือพูด ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดน้อยหรือไม่ผิดเลย สิ่งที่ทำหรือคำที่พูดก็จะเกิดผลดีแก่ตนเองและผู้อื่นอย่างแท้จริง
3) ผู้ที่อยู่ด้วยปัญญา คือ ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท รู้จักควบคุมตนเองให้ดำเนินชีวิตไปในแนวทางที่ถูกต้อง ดีงาม และชอบธรรม ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับผู้ที่อยู่ด้วยความประมาท ปราศจากปัญญา โดยไม่รู้ว่าสิ่งที่จะทำ คำที่พูดนั้นดีหรือชั่ว อยากทำอะไรก็ทำ อยากพูดอะไรก็พูด ไม่รู้จักควบคุมตนเอง การกระทำ การพูด หรือความคิดจึงผันแปรไปตามสิ่งรอบข้าง
4) นักปราชญ์กล่าวว่าชีวิตของผู้อยู่ด้วยปัญญาประเสริฐสุดเหตุที่นักปราชญ์กล่าวเช่นนี้ เพราะผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญา นอกจากจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของตนมีความเจริญก้าวหน้าและมีความสงบสุขแล้ว ยังทำให้สังคมเกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสงบสุขอีกด้วย ส่วนผู้ที่เป็นอยู่โดยปราศจากปัญญานอกจากจะทำให้ตนเองเดือดร้อน และหาความสงบสุขในชีวิตไม่ได้แล้ว ยังอาจทำให้สังคมเกิดความสับสนวุ่นวาย ไม่มีความสงบสุขอีกด้วย
1.2 จุดมุ่งหมาย
พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ มุ่งสอนให้เรารู้จักดำรงชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ไม่ประมาท มีสติสัมปชัญญะอยู่ตลอดเวลา และเน้นให้เราเห็นว่า ปัญญานั้นมีคุณค่าและความสำคัญต่อชีวิต การทำกิจกรรมใด ๆ หรือคำพูดใด ๆ จะต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนแล้วจึงทำหรือพูด
2. สุสฺสูสํ ลภเต ปณฺญํ ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา
2.1 ความหมาย
1) การฟัง ตามหลักพระพุทธศาสนาการสร้างปัญญาหรือความรู้มี 3 วิธี คือ การฟัง การคิด และการลงมือปฏิบัติ การฟังเป็นวิธีการสร้างปัญญาที่ควรฝึกให้เกิดขึ้นเป็นอันดับแรก เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างปัญญาขั้นต่อ ๆ ไป ปัญญาที่เกิดจากการฟัง รวมทั้งการอ่านและการศึกษาเล่าเรียน เรียกว่า สุตมยปัญญา
2) การฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา การฟังด้วยดี คือ การตั้งใจฟัง มีจิตจดจ่ออยู่กับเรื่องที่จะฟัง ฟังด้วยอาการสงบ แล้วส่งจิตไปตามเรื่องที่ฟัง กล่าวโดยสรุป การฟังด้วยดี ก็คือ การฟังที่มีสมาธิเป็นพื้นฐานนั่นเอง การฟังด้วยดีที่จะทำให้เกิดปัญญา นอกจากจะต้องอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานแล้ว ยังจะต้องรู้จักสรุปเรื่องที่ฟังหรืออ่านเป็นตอน ๆ นำมาจัดระบบและเก็บเข้าสู่ความจำ ตลอดจนนำเรื่องที่จำนั้นมาคิดพิจารณาทบทวนในบางโอกาส อนึ่งการฟังด้วยดีก่อให้เกิดปัญญาต้องเป็นเรื่องที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในทางสร้างสรรค์สังคมให้มีความสงบสุข ส่วนเรื่องที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับเรื่องดังกล่าวข้างต้นไม่ควรฟังและไม่ควรจดจำและนำมาคิด เพราะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เรื่องเหล่านี้ เช่น ข่าวลือหรือการนินทาว่าร้ายผู้อื่น ซึ่งทำให้เขาเกิดความเสียหาย เรื่องเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เรื่องที่ไม่มีมูลความจริง เรื่องที่ก่อให้เกิดความแตกแยก เรื่องที่เป็นความลับของผู้อื่นที่เขาไม่อยากเปิดเผย เป็นต้น
หากจำเป็นต้องฟังเรื่องเหล่านี้เพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรเป็นไปด้วยความระมัดระวัง และควรใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน และหากจะจำเรื่องดังกล่าวไว้ก็ควรเป็นไปเพื่อปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นเท่านั้น
2.2 จุดมุ่งหมาย
พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ มุ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของการฟังว่าเป็นวิธีการสร้างปัญญาหรือความรอบรู้ที่สำคัญวิธีหนึ่ง และเน้นให้เห็นว่าในการฟังที่ก่อให้เกิดปัญญานั้น ผู้ฟังต้องเป็นผู้ฟังที่ดี โดยมีความตั้งใจ รู้จักสงบ จัดระบบ และเก็บเข้าสู่ความจำ รวมทั้งนำมาคิดทบทวนในบางโอกาส
3. ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย ปัญญาแลประเสริฐกว่าทรัพย์
3.1 ความหมาย
1) ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความรู้เข้าใจอย่างชัดเจน สามารถแยกแยะเหตุผล คุณโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ปัญญามี 3 ประเภท คือ
ก. สุตมยปัญยา คือ ปัญญาที่เกิดจากการฟัง การอ่าน และการศึกษาเล่าเรียน
ข. จินตามายปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองเหตุผลของข้อมูลที่ได้จากการฟัง การอ่าน และการศึกษาเรียน
ค. ภาวนายปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ
2) ทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์สินทุกอย่างทั้งที่เป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ เช่น เงินทอง เครื่องประดับ ที่ดิน บ้าน รถยนต์ เป็นต้น
3) ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ การมีทรัพย์สินต่าง ๆ อย่างครบถ้วนสมบูรณ์หรือมากมาย ทางโลกจะกำหนดว่าเป็นผู้ที่ร่ำรวยหรือมีอันจะกิน แต่พระพุทธศาสนสุภาษิตถือว่า ทรัพย์สินเหล่านี้เป็นสิ่งที่สามารถสูญหายหรือหมดไปได้ บางอย่างโจรสามารถขโมยไปได้ จึงเรียกว่าเป็นทรัพย์ภายนอก แต่ปัญญาซึ่งเกิดจากแหล่งต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นนั้นเป็นสิ่งประจำตัวเรา มีลักษณะแตกต่างจากทรัพย์สินเงินทองหรือทรัพย์จากภายนอกทั่วไป คือ โจรไม่สามารถขโมยไปได้ ใช้เท่าไรก็ไม่หมด สูญหายได้ยาก ที่สำคัญคือสามารถใช้แสวงหาทรัพย์สินเงินทองได้อีกด้วย พระพุทธศาสนาจึงเรียกปัญญาว่าเป็นทรัพย์ภายในหรืออริยทรัพย์ ประการหนึ่ง และกำหนดว่าเป็นสิ่งประเสริฐกว่าทรัพย์ภายนอกเพราะคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว
3.2 จุดมุ่งหมาย
พุทธศาสนสุภาษิตบทนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ คือ มุ่งชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญญาว่าเป็นทรัพย์ภายในที่ประเสริฐกว่าทรัพย์ภายนอก อันได้แก่ ทรัพย์สินเงินทอง อีกทั้งเน้นให้เรารู้จักสร้างปัญญาให้เกิดมีขึ้นในตนตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นให้มาก เพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาทรัพย์ภายนอก และเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตในอนาคตข้างหน้าต่อไป
5.4 คำศัพท์ทางพระพุทธสาสนา
คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนา เป็นคำศัพท์ที่มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีเป็นหลัก ในภาษาไทยมีคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก บางคำเป็นคำศัพท์เฉพาะทางพระพุทธศาสนา เมื่อนำมาใช้นานเข้าอาจมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ซึ่งจะมีผลทำให้พุทธศาสนิกชนนำไปประพฤติปฏิบัติคลาดเคลื่อนไปจากหลักธรรม ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่พุทธศาสนิกชนควรศึกษาคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาให้เข้าใจเพื่อจะได้นำไปใช้และสื่อความหมายได้ถูกต้อง
คำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่กำหนดให้เรียนในชั้นนี้ ได้แก่
1. บารมี บารมี ในความหมายเดิมตามหลักพระพุทธศาสนา หมายถึง คุณความดีที่ควรบำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอันสูงยิ่ง คือ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า หรือในอีกความหมายหนึ่ง บารมี หมายถึง คุณธรรมอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญไว้ในกาลก่อน ตั้งแต่สมัยยังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ในพระชาติต่าง ๆ บารมีมี 10 ประการ เรียกว่า ทศบารมี ได้แก่
1.1 ทาน คือ การให้ พระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.2 ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย พระภูริทัตต์ ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.3 เนกขัมมะ คือ การออกบวช พระเตมีย์ ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.4 ปัญญา คือ ความรอบรู้ พระมโหสถ ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.5 วิริยะ คือ ความเพียร พระมหาชนก ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.6 ขันติ คือ ความอดทน พระจันทกุมาร ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.7 สัจจะ คือ ความจริง พระวิทูร ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.8 อธิษฐาน คือ ความตั้งใจแน่วแน่ พระเนมิราช ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.9 เมตตา คือ ความรักใคร่ปรารถนาดี พระสุวรรณสาม ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
1.10 อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง พระนารทะ ทรงบำเพ็ญเป็นหลัก
ปัจจุบัน บารมี ที่นำมาใช้ในภาษาไทย หมายถึง คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ บุคคลใดที่ทำงานใหญ่ได้สำเร็จ แสดงว่าบุคคลนั้นมีบารมี บารมีในความหมายนี้จะเน้นไปที่บารมีทางด้านทรัพย์สิน เงินทอง หรือ บริวาร
2. วิญญาณ
วิญญาณในความหมายเดิมตามหลักพระพุทธสาสนา หมายถึง การรับรู้อารมณ์โดยผ่านอายตนะอารมณ์ คือ สิ่งที่รับรู้ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (เช่น ร้อน เย็น อ่อน แข็ง) และธรรมารมณ์ (สิ่งที่ใจนึกคิด) อายตนะ คือ สื่อหรือเครื่องมือที่รับรู้ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ วิญญาณหรือการรับรู้เกิดขึ้นเมื่อมีอารมณ์มากระทบหรือสัมผัสอายตนะ วิญญาณจึงมี 6 อย่าง ตามอายตนะและอารมณ์ที่เกี่ยวข้อง คือ
1. เมื่อรูปมากระทบตา เกิดการรับรู้ทางตา หรือ การเห็น เรียกว่า จักขุวิญญาณ
2. เมื่อเสียงมากระทบหู เกิดการรับรู้ทางหู หรือการได้ยิน เรียกว่า โสตวิญญาณ
3. เมื่อรูปมากระทบจมูก เกิดการรับรู้ทางจมูก หรือ การได้กลิ่น เรียกว่า ฆานวิญญาณ
4. เมื่อรูปมากระทบลิ้น เกิดการรับรู้ทางลิ้น หรือ การลิ้มรส เรียกว่า ชิวหาวิญญาณ
5. เมื่อสัมผัสมากระทบกาบ เกิดการรับรู้ทางกาย หรือการสัมผัส เรียกว่า กายวิญญาณ
6. เมื่อธรรมารมณ์เกิดกับใจ เกิดการรับรู้ทางใจ หรือ การคิด เรียกว่า มโนวิญญาณ กล่าวโดยสรุป
วิญญาณ คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน ส่วน วิญญาณ ที่นำมาใช้ในภาษาไทย หมายถึง สิ่งที่เชื่อกันว่ามีอยู่ในกายเมื่อมีชีวิต เมื่อตายจะออกจากกาย ล่องลอยไปหาที่เกิดใหม่ ภูตผีปีศาจ หรือหมายถึง จิตใจ เช่น มีวิญญาณนักสู้ มีวิญญาณศิลปิน เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ทางพระพุทธศาสนาที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกได้แก่
1. กรรมเวร (กำ – เวน) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น กรรมเวรของฉันแท้, บาป, เคราะห์ เช่น คนมีกรรม, ความตาย
2. กำหนัด (กำ – หนัด) ความปรารถนาในทางกาม
3. จรณะ (จะ – ระ – นะ) ควาปมระพฤติในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง การปฏิบัติเพื่อบรรลุคุณความดี
4. ตัณหา (ตัณ – หา) ความอยากมี 3 ป ระเภท คือ
(1) กามตัณหา ความอยากได้ในกาม
(2) ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น
(3) วิภวตัณหา ความอยากให้ไม่มี, อยากให้หมดไป
5. ทุกขเวทนา (ทุก–ขะ–เว–ทะ–นา) ความรู้สึกไม่สบาย ความรู้สึกลำบาก
6. มโนรถ (มะ – โน – รด) ความหวัง ความใฝ่ฝัน ความปรารถนา
7 ยมกปาฏิหาริย์ (ยะ-มก-ปา-ติ-หาน) ปาฏิหาริย์ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงเป็นคู่ ๆ ที่ต้นมะม่วงแห่งหนึ่งใน เมืองสาวัตถี โดยทรงบันดาลท่อน้ำท่อไฟออกจากส่วนของพระกายเป็นคู่ ๆ กัน ซึ่งตลอดพระชนมชีพทรงแสดงครั้งเดียว
8. โยนิโสมนสิการ (โย – นิ – โส – มะ – นะ – สิ – กาน) การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ โดยแยบคายมีความลึกซึ้งทางใจ
9. เวทนา เว – ทะ – นา) ความเสวยอารมณ์, ความรู้สึกสุข ทุกข์
เฉย ๆ ในภาษาไทยใช้ความหมายว่า ความทรมาน, ความสงสาร
10. สุขเวทนา (สุก–ขะ–เว–ทะ–นา) มีความรู้สึกสุขสบาย
11. อทุกขมสุขเวทนา (อะ–ทุก–ขะ–มะ–สุก – ขะ–เว–ทะ–นา) มีความรู้สึกไม่ทุกข์ ไม่สุข เฉย ๆ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขาเวทนา
12. อนิฏฐารมณ์ อะ – นิด – ถา – รม) อารมณ์ที่ไม่น่ายินดี เช่น เมื่อได้กลิ่นหนูเน่าใจก็จะเกิดอารมณ์ไม่น่ายินดีขึ้น เป็นต้น
13. อนุโลม (อะ – นุ – โลม) สิ่งที่ใช้แทนกันได้ตามความเหมาะสม เช่น ใช้คำว่าสตรีแทนคำว่า ผู้หญิง เป็นต้น
14. อริยทรัพย์ (อะ – ริ – ยะ – ซับ) ทรัพย์อันประเสริฐ 7 ประการคือ
1) ศรัทธา ความเลื่อมใส,เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ
2) ศีล การรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
3) หิริ ความละลายต่อบาป
4) โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป
5) พาหุสัจจะ การศึกษาเล่าเรียนคือได้ยินได้ฟังมาก
6) จาคะ การบริจาค
7) ปัญญา ความรอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
15. อิฏฐารมณ์ (อิด – ถา – รม) ความอันน่ายินดี เช่น ได้กลิ่นหอมของดอกไม้ใจก็จะเกิดอารมณ์อันนายินดี เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น